วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

สาระน่ารู้

อ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น
โดยเคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้
8.1 ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
8.2 ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
เคล็ดลับ การเรียนเก่ง
1. คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนเช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกันให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือเพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยมและจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดี
2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1-2 ชม.ก็เกินพอแต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างหนึ่งแล้ว ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุด
3. ที่ว่า 1-2ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรเช่นจะอ่านวันละ 2ชม.แต่แบ่งเป็น 4 ยกครั้งละ 25-30นาที
และพัก 5- 10 นาที
4. อ่านจบวันหนึ่ง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะสรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร
5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ดี
ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่
6. ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชาเช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 1 เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้างเช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่าwhere do you go? อะไรเป็นต้นแล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาอังกฤษยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งทีก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ
7. วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมดให้จบอย่างรวดเร็วถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกล
แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลยจากนั้นให้รีบหาแบบฝึกหัดมาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อนจากนั้นค่อยเสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มหนึ่งมาอ่านเนื้อหาให้หมดอีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จบหมด สำคัญคือความตั้งใจต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้วทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิดสุดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่าต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้นมองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิดขึ้นมานึกออกทะลุหมด เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมาในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน 1 บทต่อ 1 แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบทเช่น สถิติ อาจใช้ถึง 6 แผ่น หรือตรีโกณ 3 แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกิน
จากนั้นทิ้งตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลย
8.สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่คือ ต้องมีความรู้ติดสมอง สามารถหยิบมาใช้การได้ทันทีถ้าคิดจะเรียนเพื่อสอบนั่นก็แสดงว่า กำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวง เด็กสมัยใหม่นี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิกนั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเรา เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้ต้องเข้าใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนามุมมองความคิดต่าง ๆ เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองหรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไรต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้ ดังนั้น จากข้อ 7 เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้วให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมองโดยทำดังต่อไปนี้
ให้นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก 1 เดือนหรือ 4 อาทิตย์ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก 1 เดือนต่อครั้งจนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้วให้เลิกทำ ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ 1 อาทิตยืจนเลิกนึกนี่คาดว่าไม่ตำกว่า 3 เดือนใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์
9. กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อยๆ คือกระบวนการสอบแข่งขัน
ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่ม.1 จนจบ ม.6 เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเองเมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่าก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้ซัก 1-2 ปี รู้ผลแน่ รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้นแน่นอน อันดับระดับประเทศก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก
อ้อ ลืมบอกไป สิ่งสำคัญคือการอ่านล่วงหน้าช่วงปิดเทอม ก็อ่านของเทอมหน้านู้นหรือ อยู่ ม.4 จะอ่านของ ม.6 ก็ได้นะไม่ผิด

ขอขอบคุณสาระดีๆจากhttp://blog.eduzones.com/diaw30/22324

1 ความคิดเห็น: